เรามาวิพากษ์วิจารณ์
กระทู้ “วิเคราะห์วิปัสสนา
(แบบของท่านโกเอ็นก้า).จากประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์” ของคุณปูนิ่มเป็นบทความสุดท้ายกัน
เราพยายามหาคำอธิบาย พอจะเข้าใจได้ดั้งนี้คือ
นี่เป็นขบวนการตัด Sensation ที่ไม่ต้องการออก
คือ การไม่พูด ไม่มองเห็น เหลือแต่ Sensation ในการรับสัมผัสเท่านั้น
|
ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่า วิปัสสนาจากพม่าทุกชนิด ทุกประเภทไม่ใช่ “วิปัสสนากรรมฐาน” ในศาสนาพุทธ เพราะ ไม่ยอม “เห็น”
นี่ก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนมากขึ้น
วิปัสสนา แปลว่า “เห็นแจ้ง” เมื่อไม่ยอมเห็น
แล้วจะเป็นวิปัสสนาไปได้อย่างไร
จากนั้น Sensation ในการสัมผัสก็ถูกทำให้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
ที่ละน้อยๆ ทุกชั่วโมง
แยกความรู้สึกเจ็บ ปวด คัน อุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน ออกจากกัน
ไม่ใช่รู้สึกรวมไปกันหมด
|
ตามปรกติแล้ว
ในการปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องทำ “อารมณ์”
ให้เหลือเพียงอารมณ์เดียว คือ เป็นเอกคตารมณ์
สมาธิมันถึงจะเกิดขึ้น
การบริกรรมภาวนา
บริกรรมนิมิตทั้งหลายก็คือ การทำให้ใจให้เป็นเอกคตารมณ์นั่นเอง แต่เมื่อมัวเอาใจไปคิดโน่นคิดนี่
ไอ้นี่มัน
“เจ็บ” ไอ้นี่มัน “คัน” ไอ้นี่มัน “ปวด” ถามจริงๆ เถอะ
มันก็ไม่มีโอกาสที่จะใจจะหยุดนิ่งได้
คิดไปเรื่อย
ทุกๆ Sensation จะเกิดขึ้น แล้วหายไป
เป็นเรื่องธรรมชาติ
|
ตรงนี้
ขอยืนยันว่า อาการ “เจ็บ ปวด”
ทั้งหลายนั้น ไม่ได้หลายไป
ผมเคยนั่งทีเดียว
3 ชั่วโมงมาแล้ว ที่เป็นไปได้ก็คือ
เราจะไม่รู้สึก “เจ็บ ปวด” ถ้าแยกกาย แยกจิตได้ แต่พอเลิกปฏิบัติธรรมแล้ว ปวดแทบตายทุกคน
คำว่า
“แยกกาย แยกจิต” นั้น หมายถึงว่า
เราไม่ไปรับรู้เรื่องของกาย
แต่จะทำอย่างนี้ได้สักกี่คน และทำแบบนี้ กิเลสมันลดลงไปเท่าไหร่
ส่วนใหญ่แล้ว
การทำแบบนี้ กิเลสไม่ได้ลดลงไปเท่าไหร่ มีแต่ความซาดิสม์ ว่ากูทำได้ แต่ที่ดูเหมือนว่า กิเลสมันลดนั้น
มันเกิดกับคนปฏิบัติธรรม ที่กิเลสมันลดไปก่อนหน้านี้แล้ว ถึงจะทำแบบนี้ได้
ถ้าไม่รู้จักแยก Sensation ความรู้สึกปวดจะนำหน้า
เพราะเป็นความรู้สึกที่หยาบที่สุด ถ้าแยกได้ เราจะรู้ว่า ตรงนั้นเราไม่ได้ปวดอยู่ตลอดกาล
ตอนปวดหายไปก็มี หายไปนานด้วย
ในสภาวะปกติที่เราแยก Sensation ไม่ได้
เราจะบอกตัวเองว่าปวดๆ แล้วเราจะแปล Sensationที่เหลือทั้งหมด
เป็นความปวดไปด้วย แล้วเราก็ปวดตลอดกาล
ถ้าแยก Sensation ได้ถึงในระดับ Subconscious เราจะรู้ว่า ตรงนั้นเราไม่ได้ปวดอยู่ตลอดกาล ไม่ได้ปวดจนทนไม่ได้
ตอนปวดหายไปก็มี ยิ่งไม่ต้องปรุงแต่งว่านี่เป็นความปวด
แต่แปลให้มันเป็น Sensation ชนิดหนึ่งเท่านั้น ก็ยิ่งไม่ปวด
เราจึงผ่านส่วนที่เราเคยคิดว่าเจ็บปวดไปได้ไม่ยากนัก
รู้สึกเหมือนค้นพบ Pain management ในการรักษาผู้ป่วยเลย
|
ข้อความตอนนี้
คุณปูนิ่มพยายามจะโกหกต่อว่า เป็นหมอ เป็นด็อกเตอร์ เป็นนักวิจัยอีกครั้งหนึ่ง
จึงพยายามใช้ภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ดี พระพม่า สาวกพระพม่า ก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า
การที่พวกเขาทั้งหลายมีอารมณ์ซาดิสม์ขึ้นมา
ไปนั่งทรมานตัวเอง
รับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้น กิเลสทั้งหลายมันลดลง หรือหายไปอย่างไร
การฝึกการรับ Sensation ให้มีความคมมากขึ้นได้
ก็มีผลข้างเคียงในเหมือนกัน
เรานอนไม่หลับ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่วิสัย ที่บ้านมีหมาเป็นฝูง
เสียงดังบ้างเป็นครั้งคราวก็หลับได้เสมอ เรารู้สึกว่า เราได้ยินทุกอย่างที่เกิดขึ้น
แม้คนใกล้เคียงไอ เราก็รู้สึกถึงแรงกระแทก
รู้สึกงงกับตัวเองมาก บอกตัวเองว่ามากไปมั๊ง
แต่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดหลายครั้งจนเข้าใจว่าไม่ได้คิดไปเอง ถึงนอนไม่หลับ
แต่ก็ไม่อ่อนเพลีย
วันที่สุดท้ายที่เริ่มพูดได้ การรับ Sensation
อันเฉียบคมลดลงไปอย่างรวดเร็ว ดึงกลับไปสู่สภาพเดิมได้ยาก
เข้าใจได้เลยว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องทำวิปัสสนาให้ได้ทุกวันเพื่อคงสภาพนี้ไว้
|
ข้อความนี่
ก็ส่อให้ถึงความโง่ของคุณปูนิ่มอีกครั้ง
การฝึกแบบโกเอ็นก้าไม่ใช่วิปัสสนา
การฝึกวิปัสสนาต้อง “เห็น”
สรุปว่า วิธีนี้จะทำให้หลานมีสมาธิในการเรียนได้ดีขึ้นหรือไม่ คำตอบคือไม่แน่.....ขึ้นกับผู้ปฏิบัติ
|
อ้าว...........ฉิบหายแล้ว คุยโม้โอ้อวดมาเสียตั้งมากมาย ผลการวิจัยของคุณปูนิ่ม แกได้ผลออกมาว่า “ขึ้นกับผู้ปฏิบัติ”
ผมแค่อ่าน
ผมยังรู้เลยว่า “วิธีของโกเอ็นก้าไม่เหมาะกับเด็ก”
ความที่คุณปูนิ่มต้องการจะโฆษณาให้กับโกเอ็นก้า
จึงต้องมาแสดงความโง่ในที่สาธารณะแบบนี้
ก็ให้มันโง่กันตลอดไปเถอะ
โดยสรุป
ผมก็ขอยืนยันว่า
พวกสาวกพระพม่านี่ สมองหมา ปัญญาควายทุกคน
ยังไม่รู้ว่า “วิปัสสนา” คือ
อะไร ดันเสือกไปเชื่อพระพม่าตาบอด ไปยกย่องสิ่งที่ไม่ใช่วิปัสสนาว่าเป็นวิปัสสนา